ข้อกฏหมาย

ผู้ใดจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตก่อน
ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไปจนถึง 2,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478
และต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

การเตรียมตัวขออนุญาตชิงโชค

กำหนดวิธีการเล่น กติกา

วันที่เริ่ม-สิ้นสุด กิจกรรม
วัน เวลา สถานที่จับรางวัล

รายละเอียดของรางวัล
(จำนวน/มูลค่าต่อรางวัล
และมูลค่ารวมทั้งหมด)

ใบอนุญาตชิงโชค จับฉลาก Luckydraw

ตัวอย่าง วิธีการเล่นที่ผิดกฎหมาย ห้ามเล่น โดยเด็ดขาด

  1. จ่ายเงินซื้อสินค้าไวสุด 10 คนแรก โดยผู้ร่วมรายการแต่ละคนไม่สามารถทราบผลของกันและกัน มิอาจรู้ล่วงหน้าได้ว่าตนจะอยู่ในลำดับ 10 คนแรกหรือไม่ / ยอดซื้อสินค้าสูงสุด 10 คนแรก (ลูกค้าจ่ายเงินไปแล้ว) แล้วมีสิทธิลุ้นรับรางวัล ถือเป็นการเล่นที่นอกเหนือจากที่กฎหมายอนุญาตไว้ ห้ามเล่นโดยเด็ดขาด ซึ่งการเล่นที่กฎหมายอนุญาตนั้นต้องเป็นการนำมาจับสลากหาผู้โชคดีเท่านั้น
  2. ส่ง SMS ครั้งละ 3 บาท ผู้ใดส่งก่อน 3 คนแรก ได้รับ iPhone ทันที ถือเป็นการเล่นการพนันตาม พ.ร.บ.การพนัน ฯ มาตรา 4 ทวิ เป็นการเล่นการพนันซึ่งต้องห้ามตามกฎหมายโดยเด็ดขาด
  3. ซื้อไอศกรีมแท่ง แล้วสะสมไม้ไอศกรีมซึ่งจะมีสัญลักษณ์ระบุค่าพลังไม่เท่ากัน โดยผู้ซื้อไม่สามารถทราบผลล่วงหน้าได้ว่าตนจะได้รับค่าพลังเท่าใด หากสะสมพลังครบ 300 สามารถนำไปแลกรับรางวัลเป็นไอศกรีมได้ฟรี
  4. การเล่นโดยใช้วิธีการเล่นตามบัญชี ก. , บัญชี ข. หรือการเล่นอื่นๆ(ม.4 ทวิ) เช่น โยนห่วง สอยดาว ฯลฯ
  5. การให้แถมพกหรือเสี่ยงโชคโดยใช้การส่งข้อความ SMS และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ค่าบริการส่ง SMS โดยผู้จัดให้มีการเล่นแถมพกฯ ได้รับผลประโยชน์ด้วย
  6. หมุนวงล้อออกรางวัล
  7. นำผลสลากกินแบ่งรัฐบาลมาอ้างอิง เป็นกติกาหรือเกณฑ์ว่าผู้ร่วมรายการจะเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลหรือไม่อย่างไร

ตัวอย่าง วิธีการเล่นที่เล่นได้โดย ไม่ต้องขออนุญาต

  1. ตอบคำถามชิงรางวัล หากตอบถูกได้รับรางวัลเลย
  2. การแข่งขันประกวดร้องเพลง
  3. ให้รางวัลแก่ผู้ร่วมรายการทุกคน ไม่มีข้อแม้ และของรางวัลทุกชิ้นนั้นเหมือนกันทั้งสิ้น ไม่แตกต่างกัน เช่น ให้ร่มคนละ 1 คัน ยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ชนิดเดียวกัน และให้ทุกคน มีผู้ร่วมรายการ 1,000 คน ก็ได้ทั้ง 1,000 คน หรือ 10,000 คน ก็ได้ทั้ง 10,000 คน ของรางวัลเหมือนกันทุกประการ

ตัวอย่าง ขออนุญาต ได้ตามกฏหมาย

  1. ให้ผู้เล่นกดLIKE และกดShare ตามเพจของบริษัทสินค้าและบริการต่าง ๆ ในFacebook หรือทางสื่อออนไลน์อื่นๆ ถือได้ว่าเป็นไปเพื่อกิจการค้าหรืออาชีพของบริษัทนั้นๆ ต้องขออนุญาตชิงโชค
  2. ซื้อ TV แล้วรับคูปอง เพื่อลุ้นรับรถยนต์จำนวน 10 รางวัล
  3. รับประทานอาหารที่ร้านปิ้งย่าง แล้วสแกน QR Code หรือส่งข้อมูลทาง Line มาลุ้นรางวัล
  4. บริษัทเกี่ยวกับจัดงานอีเว้นท์ จัดมหกรรมสินค้า/จัดรายการโชว์การแสดงหรือการละเล่น และให้ผู้คนเข้าร่วมงานฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด) จับรางวัลเสี่ยงโชคแก่ผู้ที่เข้าร่วมงานนั้น เช่น “ รายการเกมส์โชว์ทาง TV ” > ถือได้ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทที่จะได้รับค่าโฆษณาหรือค่าจัดรายการเพราะเหตุว่ารายการดังกล่าวจะได้รับความนิยม (Rating) จากผู้ชมรายการ และเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการค้าหรืออาชีพตามกฎหมาย
  5. เขียนชื่อ ที่อยู่ ลงบนคูปอง/หางบัตร แล้วนำหย่อนใส่กล่องลุ้นรางวัล
  6. รายการ TV ให้ผู้ชมซึ่งเป็นสมาชิกตอบคำถามเกี่ยวกับภาพยนตร์ผ่านเว็บไซต์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรมแต่อย่างใด แล้วลุ้นรับรางวัลจำนวน 10 รางวัล ดังนั้น แม้ผู้ร่วมรายการจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการตอบคำถามผ่านเว็บไซต์ แต่อย่างใดก็ตาม การที่ผู้ร่วมรายการต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทฯก่อน จึงจะสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้นั้น ย่อมครบองค์ประกอบของกฎหมาย ดังนั้น ก่อนการเล่นต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง
  7. ซื้อน้ำผลไม้แล้วส่งรหัสใต้ฝาทาง SMS นำมาลุ้นรับแพ็คเก็ตทัวร์ประเทศญี่ปุ่น